ใบอนุญาตโรงแรม และ อาคารชุด

EN 0939474254 , CN 0871772727 , 0924182854
@csslawoffice csslawoffice8

 

 

บริการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม

CSS-Law Office บริการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม ทุกประเภท โดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจะช่วยในทุกขั้นตอนจนกระทั่งโครงการแล้วเสร็จ และได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงแรม

“ความสำเร็จของลูกค้า คือเป้าหมายของเรา”

hotel-receptionist-work.jpg (20.03 MB)

 

การขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงแรม ให้ถูกต้องตามกฎหมาย
เพื่อให้ผู้ที่เข้ามาใช้บริการโรงแรมรู้สึกอุ่นใจกับความปลอดภัยในการเข้ามาใช้บริการ
โรงแรมจึงต้องมีใบอนุญาตประกอบกิจการโรงแรม
ไม่เช่นนั้นหากถูกตรวจพบว่าโรงแรมไม่มีใบอนุญาตจะถูกสั่งปิดแล้วยังมีความผิดในคดีอาญา

 

จุดหลักที่โรงแรมไม่สามารถขออนุญาตประกอบธุรกิจได้ มาจาก 3 เรื่อง คือ

– กฎหมายว่าด้วยผังเมือง กำหนดเขตพื้นที่โซนสี ว่าในบางพื้นที่ได้มีการกำหนดห้ามก่อสร้างอาคารโรงแรม
– กฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร กำหนดให้โรงแรมขนาดใหญ่ต้องมีที่จอดรถ
– กฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ได้กำหนดให้อาคารโรงแรมเป็นอาคารควบคุมและต้องได้รับอนุญาตใช้อาคารจาก
เจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อน

 

 

อ.1 คืออะไร?

อ.1 คือ ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร ดังแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคาร : สำหรับผู้ที่มีความประสงค์จะก่อสร้างอาคารและสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ
จะต้องยื่นเอกสารเพื่อแจ้งความประสงค์ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น

 

อ.5 คืออะไร?

อ.5 คือ ใบอนุญาตเปลี่ยนการใช้อาคาร : อาคารที่ไม่ใช่อาคารประเภทควบคุมการใช้ เช่น อาคารพักอาศัย อาคารอยู่อาศัยรวม อาคารจอดรถ เป็นต้น หากประสงค์จะใช้อาคารเป็นอาคารประเภทควบคุมการใช้ตามมาตรา 32 และกฎกระทรวงฉบับที่ 5 (พ.ศ.2527) หรือประสงค์จะเปลี่ยนการใช้อาคารประเภทควบคุมการใช้สำหรับกิจการหนึ่งไปใช้เป็นอาคารประเภทควบคุมใช้อีกกิจการหนึ่ง ต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น สำหรับท่านที่มีอพาร์ทเมนต์เดิมอยู่แล้ว และต้องการเปลี่ยนเป็นโรงแรม เพราะมองเห็นโอกาสว่าเปิดให้เช่ารายวันคุ้มค่ากว่า หรือท่านที่มีบ้านพักอาศัยส่วนตัว บ้านเก่า อาคารเก่าที่ได้รับมรดกมาจากบรรพบุรุษ โรงจอดรถเก่า หากต้องการนำมาเปลี่ยนเป็นโรงแรมเพื่อหารายได้ ก็ต้องไปขอใบอนุญาตเปลี่ยนการใช้อาคาร หรือ แบบ อ.5 ก่อน

 

อ.6 คืออะไร?

อ.6 คือ ใบรับรองการก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือเคลื่อนย้ายอาคาร : อาคารประเภทควบคุมการใช้นั้น เมื่อก่อสร้างหรือดัดแปลงตามที่ได้รับอนุญาตจนแล้วเสร็จ จะต้องขออนุญาตเปิดใช้อาคาร โดยแจ้งตามแบบ อ.6 ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบเพื่อทำการตรวจสอบการก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคาร เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ทำการตรวจสอบแล้ว เห็นว่าการก่อนสร้างหรือดัดแปลงอาคาร ถูกต้องตามที่ได้รับอนุญาต ก็จะออกใบรับรองให้กับผู้ที่ขออนุญาตเพื่อให้การใช้อาคารนั้น

 

บริการจดทะเบียนอาคารชุด

CSS-Law Office บริการจดทะเบียนอาคารชุดโดยผู้ชำนาญการ จนกระทั่งโครงการแล้วเสร็จตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ.2522 บังคับให้ผู้ประกอบการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุดเกี่ยวกับการจดทะเบียนอาคารชุด ดังนี้

back-side-modern-english-apartment.jpg (26.73 MB)

 

- เมื่อโครงการก่อสร้างแล้วเสร็จ ผู้ประกอบการมีหน้าที่ยื่นคำขออนุญาตใช้อาคารให้ถูกต้องตามกฏหมายกับพนักงานเจ้าหน้าที่
- ผู้ประกอบการมีหน้าที่ยื่นคำขอจดทะเบียนอาคารชุด เพื่อให้ได้มาซึ่ง “หนังสือสำคัญการจดทะเบียนอาคารชุด" (อ.ช.10) โดยในระหว่างดำเนินการยื่นคำขอจดทะเบียนอาคารชุด พนักงานเจ้าหน้าที่จำเป็นต้องออกสำรวจโครงการ รังวัดพื้นที่ห้องชุด เพื่อออกหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด (อ.ช.2) การมีหนังสือแจ้งเจ้าหนี้ธนาคารหรือสถาบันการเงิน ยินยอมให้จดทะเบียนอาคารชุด การกำหนดบัญชี ราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อใช้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมห้องชุด เป็นต้น

 

- ผู้ยื่นคำขอต้องยื่นหลักฐานและรายละเอียดที่จำเป็นเกี่ยวกับอาคารที่จะขอจดทะเบียนเป็นอาคารชุด อาทิ
แผนผังอาคารชุดพร้อมเส้นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะ รายละเอียดเกี่ยวกับห้องชุด ทรัพย์ส่วนบุคคล และทรัพย์ส่วนกลาง ได้แก่ จํานวนพื้นที่ ลักษณะการใช้ประโยชน์และอื่นๆ ตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด รวมทั้งร่างข้อบังคับนิติบุคคลอาคารชุด
- กรณีโครงการอาคารชุดที่มีการพัฒนาก่อสร้างจำนวนตั้งแต่ 80 ห้องชุดขึ้นไป ผู้ประกอบการจำเป็นต้องขอรับใบอนุญาตผลกระทบสิ่งแวดล้อม แนบไปพร้อมกับการยื่นคำขอจดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุดด้วย
- ผู้ประกอบการมีหน้าที่ยื่นคำขอจดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุด เพื่อให้ได้มาซึ่ง “หนังสือสำคัญการจดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุด" (อ.ช.13)

ทั้งนี้การจดทะเบียนอาคารชุด (อ.ช.10) จะแสดงให้เราเห็นว่ามีรายการใดจดทะเบียนเป็น "ทรัพย์บุคคล" และ “ทรัพย์ส่วนกลาง" ขณะที่หนังสือสำคัญการจดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุด (อ.ช.13) จะมีรายการแสดงให้เห็นว่ามีบุคคลหรือนิติบุคคลใดเป็นผู้จัดการ หรือผู้แทนของนิติบุคคลอาคารชุดและข้อบังคับของนิติบุคคลอาคารชุด เป็น “กฎเหล็ก" ของการอยู่อาศัยของเจ้าของร่วมภายในอาคารชุด